วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555


ขอบข่ายทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

ขอบข่ายการทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาประมวลออกเป็นขอบข่ายตามแนวตั้ง แนวนอน และแนวลึก  เกิดเป็นมิติขอบข่ายเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาขึ้น 

1. ขอบข่ายตามแนวตั้งของการวิจัยทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
การจำแนกขอบข่ายตามแนวตั้งของการวิจัยทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษากระทำได้หลายทางที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
                1.1 การจัดระบบ  เป็นแขนงวิชาในสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาที่อาจถือเป็นเครื่องมือสำคัญของแขนงวิชาอื่น  เพราะการดำเนินงานและการแก้ปัญหาจำเป็นต้องใช้การจัดระบบการพัฒนาระบบ  และการออกแบบระบบมาใช้  ขอบข่ายการวิจัยในด้านนี้จึงมุ่งที่การจัดระบบ  การพัฒนาระบบ  และการออกแบบระบบขั้นใหม่
การจัดระบบ (Systems Approach)  เป็นการวางแผนการพัฒนาระบบใหม่หรือปรับปรุงระบบที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น  ด้วยการกำหนดปรัชญา ปณิธาน จุดมุ่งหมาย องค์ประกอบ ภาระหน้าที่ ความสัมพันธ์/ปฏิสัมพันธ์  ขั้นตอน  ปัจจัยเกื้อหนุนและแนวทางการประเมินและควบคุม  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานหรือแก้ปัญหาการดำเนินงาน  การจัดระบบมีความสำคัญในการกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่มีคุณภาพ  การจัดระบบมีขอบข่าย  ระดับ  และองค์ประกอบระบบที่เด่นชัดและครอบคลุมการดำเนินงานทุกแง่มุม  โดยมีขั้นตอนหลักที่ครอบคลุม  การวิเคราะห์ระบบ  การสังเคราะห์ระบบการสร้างแบบจำลองระบบ  และการทดสอบระบบในสถานการณ์จำลอง
การพัฒนาระบบ (Systems Development)  เป็นการสร้างระบบขึ้นมาใหม่หรือเป็นการปรับปรุงระบบที่มีอยู่แล้วให้ทำงานได้ดีขึ้น  การพัฒนาระบบมีวิธีการหลายวิธี  แต่หากต้องการระบบที่มีคุณภาพจำเป็น ต้องใช้วิธีการจัดระบบเป็นเครื่องมือ
การออกแบบระบบ (Systems Design)  เป็นขั้นตอนหนึ่งของการสังเคราะห์ระบบและการสร้างแบบจำลองระบบที่เกี่ยวข้องกับการนำองค์ประกอบมาจัดเรียงลำดับให้อยู่ในขั้นตอนที่เหมาะสม  เพื่อจะให้ระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 พฤติกรรมการเรียนการสอน  การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่เป็นประโยชน์การวางแผนและจัดสภาพการณ์ให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมถึงเป็นเทคโนโลยีที่ท้าทาย  จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้นักจิตวิทยาเริ่มใช้  เทคโนโลยีแห่งการศึกษา ขึ้น  การวิจัยในขอบเขตนี้  มุ่งไปที่การศึกษาค้นคว้ารูปแบบพฤติกรรมการเรียน เกี่ยวกับผู้เรียนและพฤติกรรมการสอน ที่เกี่ยวกับครูบาอาจารย์ 
1.3 วิธีการ  ครอบคลุม วิธีการศึกษาโดยทั่วไปและวิธีการเรียนการสอน
วิธีการเรียนการสอน (Instructional Methods/Techniques) ประยุกต์แนวคิดและหลักการทางการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมาใช้เป็นเครื่องมือ  สื่อหรือช่องทางในการถ่ายทอดเนื้อหาสาระและประสบการณ์
การวิจัยของนักเทคโนโลยีการศึกษาในแขนงนี้จึงมุ่งไปที่การค้นหาวิธีการสอนแบบใหม่  ทั้งที่เป็นระบบการสอนแบบครบวงจรและ ที่เป็นเพียงเทคนิค  และวิธีการสอนเฉพาะเรื่อง  สำหรับนำไปใช้ในระบบการสอนที่มีผู้คิดขึ้นมาแล้ว 
1.4 การสื่อสาร  ครอบคลุม  การสื่อสารการศึกษาและการสื่อสารการสอน  แต่นิยมใช้คำว่า การสื่อสารการศึกษา  เพื่อแทนทั้งสองกลุ่มสื่อสารการศึกษา เป็นขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษาที่รู้จักกันมากโดยเฉพาะคำว่า  อุปกรณ์การสอน  โสตทัศนูปกรณ์ ฯลฯ  สื่อการศึกษา  และสื่อการเรียนการสอนที่ถือเป็นเครื่องมือและเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบการสอน  และวิธีการสอนทุกรูปแบบที่ได้พัฒนาขึ้นแล้ว  หรือที่จะต้องพัฒนาขึ้น  สื่อมีหลายประเภท  แต่สื่อที่ครูและนักเรียนรู้จักกันดี  คือ  กระดานแบบเรียนตำรา  และตัวครูเอง
1.5 สภาพแวดล้อมทางการศึกษา  ครอบคลุมประเภทและการจัดการ  โดยประเภทอาจจำแนกเป็นสภาพแวดล้อมทางกายภาพ  สภาพแวดล้อมทางจิตภาพ  และสภาพแวดล้อมทางสังคมโดยการจัดการ  เป็นการจัดสภาพแวดล้อมทางการศึกษา  ซึ่งเป็นการจัดภาวะที่อยู่รอบตัวผู้เรียนและผู้สอนที่อาจเป็นหรือไม่เป็นองค์ประกอบของการเรียนการสอนโดยตรง  แต่เกื้อหนุนให้เกิดการเรียนรู้หรือเป็นแหล่งการเรียนรู้
1.6 การจัดการ (Management)  ครอบคลุม  การจัดการศึกษา  และการจัดการเรียนการสอน  โดยมุ่งที่การจัดหาและใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยที่การจัดการศึกษา  เป็นหน้าที่ของผู้บริหาร  ภารกิจของนักเทคโนโลยีการศึกษาจึงเน้นการเรียนการสอน เกี่ยวข้องกับการจัดทรัพยากรคน  คือ  ครูกับนักเรียน  และทรัพยากรในรูปอื่นคือ  เวลา  อาคาร  สถานที่  และสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี  และมากที่สุดในเวลาที่น้อยที่สุด
1.7 การประเมิน  การประเมินการศึกษาครอบคลุม  การประเมินที่ครบวงจร  คือ  การประเมินปัจจัยนำเข้า  การประเมินกระบวนการ  และการประเมินผล  ทั้งที่เป็นการประเมินในวงกว้าง  คือ  การประเมินการศึกษา  และในวงแคบ  คือ  การประเมินการเรียนการสอน




2. ขอบข่ายในแนวนอนของการวิจัยทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
ขอบข่ายในแนวนอนจำแนกเป็นด้านบริหาร  ด้านวิชาการ  และด้านบริการ
ขอบข่ายทางด้านบริหาร  เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเป็นเครื่องมือในการจัดระบบการบริหารการกำหนดพฤติกรรมการบริหาร  วิธีการบริหาร  การสื่อสารในองค์กร  การจัดสภาพแวดล้อมด้านการบริหาร  การจัดการ  และการประเมินการบริหาร
ขอบข่ายทางด้านวิชาการ  เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเป็นเครื่องมือในการจัดระบบงานทางวิชาการ  อาทิ  การพัฒนาหลักสูตร  การผลิตงานทางวิชาการ ฯลฯ  ในการกำหนดพฤติกรรมครูและนักเรียน  ในการกำหนดวิธีการเรียนการสอนในการสื่อสารการเรียนการสอน  การจัดสภาพแวดล้อมด้านการเรียนการสอน  การจัดการด้านการเรียนการสอน  และการประเมินการเรียนการสอน
ขอบข่ายทางด้านบริการ  เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเป็นเครื่องมือในการจัดระบบงานบริหาร  การกำหนดพฤติกรรมการบริการ  วิธีการบริการ  การสื่อสารในการให้บริการ  การจัดสภาพแวดล้อมด้านการบริการ  การจัดการด้านการให้บริการ  และการประเมินการบริการ
3. ขอบข่ายในแนวลึกของการวิจัยทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
ได้แก่  การใช้เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาใน  (1) การ ศึกษาในระบบโรงเรียนซึ่งจำแนกออกตามระดับเป็นการใช้เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาในระดับปฐมวัยศึกษา  ประถมศึกษา  มัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษา (2) การศึกษานอกระบบโรงเรียน  (3) การฝึกอบรม  และ (4) การศึกษาทางไกล
                การใช้เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบโรงเรียน  เป็นการใช้เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาตามระดับชั้น  ได้แก่  การจัดระบบการสอนและการใช้สื่อการสอนในระดับปฐมวัยศึกษา  พฤติกรรมครูและนักเรียนประถมศึกษา  วิธีการสอนวิชาเฉพาะ ในระดับมัธยมศึกษาและจัดสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนในระดับ อุดมศึกษา  เป็นต้น  นอกจากนี้ยังรวมถึงการนำเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษามาใช้ในการศึกษาเฉพาะด้าน  เช่น  อาชีวศึกษา  เกษตรศึกษา  เทคนิคศึกษา ฯลฯ  การศึกษานอกระบบโรงเรียน  มุ่งให้การศึกษาต่อเนื่องตลอดชีวิตแก่ผู้ที่อยู่นอกระบบโรงเรียนเพราะออกจากโรงเรียนมาแล้วและมีความต้องการเพิ่มพูนความรู้ของตนให้สูงขึ้นเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยในการจัดระบบ  และถ่ายทอดเนื้อหาสาระให้ประชาชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีจำนวนมากกว่าสามในสี่ของประชาชนทั้งประเทศ  ทั้งนี้ยังรวมถึงการนำเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษามีความรู้สำคัญในการส่งเสริม  และการเผยแพร่ด้วยอีกขอบข่ายหนึ่ง  คือ  การใช้เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษามาใช้ในการศึกษาทางไกล   ในนัยเดียวกันกับการศึกษาในและนอกระบบโรงเรียน

การประยุกต์ใช้สื่อโสตทัศน์เพื่อการศึกษา  (AV)
ความหมายและประเภทของสื่อโสตทัศน์
สื่อโสตทัศน์ Audio Visual  เป็นสื่อที่สามารถรับรู้ได้โดยผ่านประสาทสัมผัสการได้ยินและการมองเห็น หรือหูกับตานั่นเอง สื่อโสตทัศน์แบ่งได้ 3 ประเภท
1.  สื่อประเภทเครื่องเสียง
2.  สื่อประเภทเครื่องฉาย
3.  สื่อประเภทที่ไม่ใช้เครื่องฉาย
ความหมายของโสตทัศนูปกรณ์
โสตทัศนูปกรณ์ หมายถึง อุปกรณ์ที่มีลักษณะใหญ่ ประกอบด้วย เครื่องยนต์กลไก อิเล็กทรอนิกส์ ทำหน้าที่เป็นตัวผ่านขยายเนื้อหาสาระจากแหล่งกำเนิดให้ชัดเจนยิ่งขึ้น สามารถกระตุ้นการรับรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
โสตทัศนูปกรณ์ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Audio - Visual Equipment มาจากคำประสม ดังนี้
โสต (การได้ยิน) + ทัศนะ (การมองเห็น) + อุปกรณ์
Audio    +    Visual     +    Equipment
เครื่องฉาย
                เครื่องฉายเป็นอุปกรณ์ฉายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้ผู้เรียนได้เห็นภาพหรือเนื้อหาได้ชัดเจนจากจอรับภาพ กระตุ้นความสนใจได้ดี เครื่องฉายภาพที่ใช้ในวงการศึกษาปัจจุบันมีหลายชนิด                             เช่น เครื่องฉายข้ามศีรษะ เครื่องฉาย  LCD นอกจากนี้ยังมีเครื่องต่อพ่วงกับเครื่องฉายที่สามารถฉายได้หลายรูปแบบ เช่น  Visualizer 
ระบบการทำงานของเครื่องฉาย
-  ระบบฉายตรง เป็นการฉายที่อาศัยลำแสงจากหลอดกำเนิดแสงผ่านวัสดุฉาย ผ่านระบบเลนส์ ตรงไปจอรับภาพในแนวเส้นตรง ตัวอย่างเครื่องฉายระบบนี้ ได้แก่ เครื่องฉายภาพนิ่ง เครื่องฉายภาพยนตร์
-  ระบบฉายอ้อม เป็นการฉายที่อาศัยลำแสงจากหลอดกำเนิดแสงผ่านวัสดุฉาย ผ่านระบบเลนส์ โดยมีการหักเหของลำแสง 1 ครั้ง หรือ 2 ครั้ง ด้วยกระจกเงา ก่อนที่ภาพจะปรากฏบนจอรับภาพ ตัวอย่างเครื่องฉายระบบนี้ ได้แก่ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ
-  ระบบฉายสะท้อน เป็นการฉายที่อาศัยลำแสงจากหลอดกำเนิดแสงไปกระทบวัสดุฉาย สะท้อนภาพผ่านกระจกเงาและเลนส์ฉาย ไปเกิดภาพบนจอ ระบบฉายชนิดนี้จะมีการ สูญเสียแสงค่อนข้างมาก       ห้องฉายจึงจำเป็นต้องควบคุมให้มืดมากที่สุด ตัวอย่างเครื่องฉายระบบนี้ ได้แก่ เครื่องฉายภาพทึบแสง
เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (Overhead   Projector)
เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ หรือบางทีเรียกว่า เครื่องฉายภาพโปร่งใส เพราะวัสดุฉาย เป็นแผ่นโปร่งใส (Transparency) หรืออาจเรียกว่า กระดานชอล์กไฟฟ้าเพราะใช้แทนกระดานชอล์กได้ เป็นเครื่องฉายที่จัดอยู่ในระบบฉายอ้อม ใช้สำหรับฉายภาพ วัสดุ หรือเครื่องมือที่โปร่งใส โดยเขียนข้อความหรือวาดภาพบนแผ่นโปร่งใส ซึ่งอาจจัดเตรียมไว้ล่วงหน้า แล้วนำมาวางบนเครื่องฉายซึ่งตั้งอยู่หน้าชั้นเรียน ภาพที่ปรากฏบนจอเหมือนการใช้กระดานชอล์ก ซึ่งผู้สอนจะอธิบายประกอบการฉายก็ได้ สะดวกต่อการนำมาใช้
คุณลักษณะเฉพาะของเครื่องฉาย 
             1.  ใช้สอนได้ทุกวิชา เพราะใช้แทนกระดานชอล์กได้
             2.  ห้องฉายไม่จำเป็นต้องควบคุมแสงสว่างมากนัก ห้องเรียนธรรมดาก็ฉายได้
ผู้เรียน สามารถเห็นภาพบนจอได้ชัดเจน
             3.  เครื่องฉายมีน้ำหนักเบา ใช้และบำรุงรักษาง่าย
             4.  สามารถตั้งไว้หน้าชั้นหรือที่โต๊ะบรรยาย เวลาสอนหรือบรรยาย ในขณะที่ใช้เป็นการ สะดวกในการสังเกตความสนใจของผู้เรียนเพื่อจะได้ปรับปรุงการสอนได้อย่างเหมาะสม
             5.  ประหยัดเวลาในการวาดรูปหรือเขียนคำอธิบาย เพราะผู้สอนสามารถวาด (หรือให้ผู้อื่นวาด)
หรือถ่าย (เหมือนถ่ายเอกสาร) หรือเขียนบนแผ่นโปร่งใสมาก่อนล่วงหน้า
6.  สามารถแสดงการใช้แผ่นโปร่งใสให้เห็นเหมือนกับภาพเคลื่อนไหวได้ โดยใช้แผ่นโปร่งใส
ชนิดเคลื่อนไหวได้ (Motion or Polarized Transparency) วางบนเครื่องฉาย แล้วใช้กระจกตัดแสงอยู่ในกรอบกลม ๆ เรียกว่า Polarizing Filter หรือ Polaroid Spinner โดยเปิดสวิทซ์ให้กระจกตัดแสงหมุนใต้เลนส์ฉาย ภาพที่ปรากฏบนจอจะมีลักษณะเหมือนการเคลื่อนไหวได้ เช่น ภาพภูเขาไฟระเบิดการสูบฉีดโลหิตการทำงานของเครื่องจักรเครื่องยนต์
             7. สามารถดัดแปลงการใช้แผ่นโปร่งใสจากการฉายครั้งละแผ่น เป็นการฉายครั้งละหลาย ๆ แผ่นซ้อนกัน ซึ่งเรียกว่าOverlays 8) สามารถฉายวัสดุหรือเครื่องมือที่ทำด้วยวัสดุโปร่งใสได้ หรือวัสดุทึบแสงได้ ซึ่งจะให้ภาพเป็นภาพดำบนจอ ไม่แสดงรายละเอียดเหมือนวัสดุโปร่งใส จะเห็นเป็นเพียงรูปแบบของวัสดุ หรือเครื่องมือเท่านั้น
8. สามารถใช้แสดงการทดลองหรือสาธิต โดยนำวัสดุมาวางบนเครื่องฉายแผ่นโปร่งใส วางแผ่นโปร่งใสบนแท่งแม่เหล็ก โรยผงตะไบเหล็กบนแผ่นโปร่งใส แล้วเคาะแผ่นโปร่งใส ภาพของสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นบนแผ่นโปร่งใสจะปรากฏที่จอ

 เครื่อง Video  Projector
Video Projector  เป็นอุปกรณ์ที่เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดสัญญาณจากอุปกรณ์หลายประเภท   เช่น เครื่อง Visualizer  เครื่องคอมพิวเตอร์  และเครื่องเล่น  DVD ให้ปรากฏเป็นภาพขนาดใหญ่บนจอภาพ  เครื่องวิดีโอโปรเจกเตอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
                1.  เครื่องแอลซีดี  ( LCD : Liquid Crystal Display ) เครื่องแอลซีดีเป็นเครื่องถ่ายทอดสัญญาณที่ใช้ต่อพ่วงต่อกับจอมอนิเตอร์ของคอมพิวเตอร์ Visualizer  เครื่องเล่นวีดิทัศน์  หรือเครื่องเล่นวีซีดี เพื่อเสนอภาพจากอุปกรณ์เหล่านั้นขยายขนาดใหญ่ขึ้นบนจอภาพ
                2.  เครื่องดีแอลพี  (DLP : Digital  Light  Processing) เครื่องดีแอลพี เป็นเครื่องถ่ายทอดสัญญาณระบบดิจิทัลในลักษณะเดียวกับเครื่องแอลซีดีแต่มีความคมชัดสูงกว่า
ประโยชน์ของ Video  Projector
          1. สามารถใช้กับอุปกรณ์ได้หลากหลายประเภท
          2. สามารถเสนอภาพขนาดใหญ่จากอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้เห็นภาพได้อย่างทั่วถึง

เครื่อง Visualizer
             Visualizer เป็นเครื่องแปลงสัญญาณที่เสนอได้ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว โดยต้องต่อเครื่อง Visualizer  กับจอมอนิเตอร์เพื่อเสนอภาพ หรืออาจต่อร่วมกับ เครื่อง Video Projector  เพื่อถ่ายทอดสัญญาณเป็นภาพขนาดใหญ่บนจอภาพ
หลักการทำงานของเครื่อง Visualizer  จะเป็นการใช้กล้องถ่ายภาพของวัตถุเพื่อแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าก่อนที่จะแปลงกลับเป็นสัญญาณภาพอีกครั้งหนึ่ง  การเสนอภาพนิ่งจะเป็นการวางวัสดุฉายลงบนแท่นฉายเพื่อให้กล้องที่อยู่เหนือแท่นฉายจับภาพวัสดุ  โดยสามารถใช้ฉายได้ทั้งวัสดุทึบแสง                เช่น ภาพและข้อความบนสิ่งพิมพ์  วัสดุ  3  มิติ  วัสดุกึ่งโปร่งแสงและโปร่งใส  เช่น  ฟิล์มสไลด์และแผ่นโปร่งใส  และใช้เป็นกล้องโทรทัศน์วงจรปิด  เพื่อเสนอภาพความเคลื่อนไหวภายในสถานที่นั้น

ประโยชน์ของ Visualizer
         การใช้  Visualizer ในการเรียนการสอนมีประโยชน์ดังนี้  
         1.  สามารถใช้ในการเสนอวัสดุได้ทุกประเภททั้งวัสดุทึบแสง วัสดุ  3  มิติ  รวมถึงวัสดุกึ่งโปร่งแสง และวัสดุโปร่งใส
         2.  ใช้เป็นกล้องโทรทัศน์วงจรปิดเพื่อเสนอภาพวัตถุและการสาธิตภายในห้องเรียนได้
         3.  ให้ภาพที่ชัดเจน  สามารถขยายภาพและข้อความจากสิ่งพิมพ์ให้อ่านได้อย่างทั่วถึง
         4.  สามารถใช้กล้องตัวรองเป็นกล้องวีดิทัศน์เคลื่อนที่ได้

จอรับภาพ (Screen)
จอเป็นอุปกรณ์รองรับภาพจากเครื่องฉายชนิดต่าง ๆ
การกำหนดและติดตั้งจอภาพ (Screen Setting)
ก่อนการติดตั้งจอภาพผู้ติดตั้ง จำเป็นจะต้องพิจารณาตำแหน่งของจอภาพ นอกจากจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการรับชมแก่ผู้ชม แล้ว ยังเป็นส่งผลต่อคุณภาพของภาพ ด้านความสว่าง  ความคมชัด และความถูกต้องของภาพที่ปรากฏ โดยต้องคำนึงต่อองค์ประกอบต่อไปนี้
1.      ขนาดพื้นที่
2.      จำนวนผู้ชมและตำแหน่งเก้าอี้ โต๊ะ หรือบริเวณของการยืนรับชม
3.      แสงสว่างภายในห้อง
4.      ตำแหน่งของเครื่องฉาย
 การติดตั้งจอภาพสามารถกระทำได้หลายลักษณะขึ้นอยู่กับโครงสร้างและส่วนประกอบของจอภาพนั้นๆ เราจะพบเห็นการติดตั้งจอภาพโดยทั่วไปใน 3 ลักษณะ
1.  แบบสามขา หรือขาตั้ง (Tripod or Portable) การติดตั้งลักษณะนี้ เป็นการติดตั้งที่กำหนดโดยลักษณะของจอที่ผลิตเป็นแบบเคลื่อนย้าย คือจอภาพมีขาตั้งติดมาด้วย หรือ เนื่องด้วยเป็นการติดตั้งชั่วคราว ที่สามารถแยกส่วนจอและขาตั้งจากกันได้
2.   แบบยึดติดผนัง (spring loaded wall screen) กรณีนี้มักติดตั้งเป็นการถาวร อาจจะใช้วิธีดึงจอขึ้น หรือลงก็ได้ขึ้นอยู่กับลักษณะของจอของแต่ละผู้ผลิต ปัจจุบันมีระบบควบคุมการเก็บและใช้สะดวกมากขึ้น จอแบบนี้เวลาดึงออกมาใช้จะตั้งฉากกับพื้น
3.  แบบยึดติดฝ้าเพดาน คล้ายกับแบบติดผนังแต่สามารถปรับมุมในการรับภาพของจอภาพ เพื่อแก้ปัญหาการผิดเพี้ยนของภาพ ที่เรียกว่า Keystone effect

 เครื่องเสียง
เครื่องเสียง หมายถึง เครื่องใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่ง ที่ทำหน้าที่ขยายสัญญาณเสียง หรือเกี่ยวข้องกับกระบวนการขยายเสียง ถ่ายทอดเสียง กระจายเสียง เป็นต้น ในภายหลังยังนิยมเรียกรวมถึงอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับสัญญาณภาพด้วย
เครื่องเสียง เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกนำมาใช้ในชีวิตประจำวันอย่างกว้างขวาง ที่ชัดเจนมากอย่างหนึ่งคือ เพื่อความบันเทิง และการพักผ่อนหย่อนใจ โดยเหตุที่เราทุกคนสามารถรับฟังเสียงได้ทางหูสัมผัส และเป็นช่องทางเปิดตลอดเวลา แม้เวลาหลับหูก็ยังสามารถรับเสียงได้ ดังนั้นทางเลือกทางหูสัมผัสจึงเป็นช่องทางสำคัญในการ ส่งเสริมให้เกิดการรับรู้และเรียนรู้ในวิทยาการต่างๆมากมาย
ระบบเสียง
1.  ระบบเสียงโมโน (mono phonic sound system) หมายถึง การขยายเสียงที่ขยายเสียงเพียง 1 ช่องเสียง ขยายเสียงเหมือนต้นกำเนิดเสียงเหมาะที่จะนำไปใช้ในการขยายเสียงพูดเสียงบรรยาย
2.  ระบบเสียงเตอริโอ (stereo phonic sound system) หมายถึง การขยายเสียงที่ขยายเสียงตั้งแต่ 2 ช่องเสียงขึ้นไป ขยายเสียงผิดเพี้ยนไปจากต้นกำเนิดเสียงในทางไพเราะ เหมาะที่จะนำไปใช้ในการขยายเสียงเพลง เสียงดนตรี ระบบเสียงสเตอริโอนั้น อาจสร้างขึ้นมาเป็นชนิด 2 ช่องเสียง (2 CH) คือช่องเสียงทางซ้าย (left channel) และช่องเสียงทางขวา (right channel) ซึ่งระบบนี้มนุษย์เรานิยมใช้ฟังกันมากเพราะตรงตามธรรมชาติของหูผู้ฟังคือ มี 2 หู หูซ้ายและหูขวา

ระบบการทำงานของเครื่องเสียง
ภาคนำเข้าสัญญาณเสียง Input  เป็นอุปกรณ์ที่ส่งสัญญาณเสียงในรูปของสัญญาณไฟฟ้าตามที่ต้องการ เพื่อป้อนเข้าระบบเสียง เช่น ไมโครโฟนเปลี่ยนคลื่นเสียงจากปากผู้พูดให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงป้อนเข้าไปขยายให้มีกำลังแรงได้
เครื่องขยายเสียง Amplifier เป็นอุปกรณ์ที่ปรับแต่งและขยายกำลังของสัญญาณเข้าให้มีกำลังแรงขึ้น เพื่อให้สามารถนำไปใช้งานได้ตามจุดมุ่งหมาย
ภาคนำสัญญาณเสียงออกไปใช้  Output เป็นอุปกรณ์ที่นำสัญญาณเสียงไปใช้งานในหลายลักษณะ เช่น ผ่านลำโพงกระจายเสียง

ลำโพง
                ชนิดของลำโพง
แบ่งตามลักษณะการตอบสนองความถี่ของคลื่นเสียง 3 ชนิด คือ
1.  (Woofer) เป็นลำโพงกรวยกระดาษแบบไดนามิก ขนาดใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ตั้งแต่ 6   นิ้วขึ้นไป มีความไวต่อการสั่นสะเทือน ตอบสนองความถี่เสียงในช่วง 20 - 250 Hz
2.  ลำโพงเสียงกลาง (Midrange / Squawked) เป็นลำโพงที่ตอบสนอง ความถี่ในช่วงกลางๆ เป็นลำโพง กรวยกระดาษ แบบไดนามิก เส้นผ่าศูนย์กลาง 4 &ndash 6 นิ้ว ตอบสนองความถี่เสียงในช่วงประมาณ 500 - 5,000 Hz
3.  ลำโพงเสียงแหลม (Tweeter) เป็นลำโพงกรวยรูปโดม ขนาดเล็ก แบบไดนามิก ซึ่งมีเสียงแหลม ตอบสนองความถี่ประมาณ 5,000 Hz ขึ้นไป มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 - 3 นิ้ว        
แบ่งตามลักษณะการใช้งาน
1.  ลำโพงใช้ภายในอาคาร (Indoor speaker)  ใช้ติดตั้งภายในอาคาร ส่วนมากนิยมใช้เป็นลำโพงกระดาษเพื่อให้ได้เสียงที่ชัดเจนนุ่มนวล ลำโพงที่ใช้ภายในอาคารนี้นิยมใช้เป็นลำโพงตู้ อาจเป็นแบบตั้งโต๊ะ ติดผนัง
2.  ลำโพงใช้ภายนอกอาคาร (Outdoor speaker) โดยมากมักเป็นลำโพงที่มีแผ่นสั่นเป็นพวกโลหะหรือไฟเบอร์ เพื่อให้ความคมชัดของเสียงสูง สามารถส่งกระจายเสียง
ไปให้ผู้ฟังที่อยู่ไกลๆ ได้แก่ ลำโพงปากแตร หรือลำโพงฮอร์น (Horn)
3.  ลำโพงใช้ภายในและภายนอกอาคาร 

สภาพการณ์ที่เหมาะในการใช้สื่อประเภทเครื่องเสียง
1. ใช้ในการเรียนการสอนที่มีผู้เรียนจำนวนมากในห้องเรียนขนาดใหญ่ ซึ่งผู้สอนไม่สามารถพูดให้ผู้เรียนได้ยินทั้งชั้นเรียน
2. ใช้ในกรณีที่มีการเรียนการสอนหลาย ๆ ห้องพร้อม ๆ กัน
3. ใช้ในห้องปฏิบัติการทางภาษา เพื่อใช้ในการฝึกทักษะการฟัง และพูด เช่น ในการเรียนภาษาอังกฤษ
4. ใช้ในห้องปฏิบัติการด้านดนตรี
ข้อดีของสื่อประเภทเสียง
1. สามารถใช้กับกลุ่มเป้าหมายเป็นมวลชนจำนวนมากได้
2. ระยะกระจายเสียงกว้างและถ่ายทอดไปได้ในระยะไกล
3. ดึงดูดความสนใจของผู้ฟังและช่วยกระจายข้อมูลได้ในเวลาอันรวดเร็วมาก
4. สามารถใช้ได้โดยไม่จำกัดขนาดของกลุ่ม
5. เหมาะสำหรับการเรียนรู้กับทุกกลุ่ม