วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555


ขอบข่ายทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

ขอบข่ายการทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาประมวลออกเป็นขอบข่ายตามแนวตั้ง แนวนอน และแนวลึก  เกิดเป็นมิติขอบข่ายเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาขึ้น 

1. ขอบข่ายตามแนวตั้งของการวิจัยทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
การจำแนกขอบข่ายตามแนวตั้งของการวิจัยทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษากระทำได้หลายทางที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
                1.1 การจัดระบบ  เป็นแขนงวิชาในสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาที่อาจถือเป็นเครื่องมือสำคัญของแขนงวิชาอื่น  เพราะการดำเนินงานและการแก้ปัญหาจำเป็นต้องใช้การจัดระบบการพัฒนาระบบ  และการออกแบบระบบมาใช้  ขอบข่ายการวิจัยในด้านนี้จึงมุ่งที่การจัดระบบ  การพัฒนาระบบ  และการออกแบบระบบขั้นใหม่
การจัดระบบ (Systems Approach)  เป็นการวางแผนการพัฒนาระบบใหม่หรือปรับปรุงระบบที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น  ด้วยการกำหนดปรัชญา ปณิธาน จุดมุ่งหมาย องค์ประกอบ ภาระหน้าที่ ความสัมพันธ์/ปฏิสัมพันธ์  ขั้นตอน  ปัจจัยเกื้อหนุนและแนวทางการประเมินและควบคุม  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานหรือแก้ปัญหาการดำเนินงาน  การจัดระบบมีความสำคัญในการกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่มีคุณภาพ  การจัดระบบมีขอบข่าย  ระดับ  และองค์ประกอบระบบที่เด่นชัดและครอบคลุมการดำเนินงานทุกแง่มุม  โดยมีขั้นตอนหลักที่ครอบคลุม  การวิเคราะห์ระบบ  การสังเคราะห์ระบบการสร้างแบบจำลองระบบ  และการทดสอบระบบในสถานการณ์จำลอง
การพัฒนาระบบ (Systems Development)  เป็นการสร้างระบบขึ้นมาใหม่หรือเป็นการปรับปรุงระบบที่มีอยู่แล้วให้ทำงานได้ดีขึ้น  การพัฒนาระบบมีวิธีการหลายวิธี  แต่หากต้องการระบบที่มีคุณภาพจำเป็น ต้องใช้วิธีการจัดระบบเป็นเครื่องมือ
การออกแบบระบบ (Systems Design)  เป็นขั้นตอนหนึ่งของการสังเคราะห์ระบบและการสร้างแบบจำลองระบบที่เกี่ยวข้องกับการนำองค์ประกอบมาจัดเรียงลำดับให้อยู่ในขั้นตอนที่เหมาะสม  เพื่อจะให้ระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 พฤติกรรมการเรียนการสอน  การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่เป็นประโยชน์การวางแผนและจัดสภาพการณ์ให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมถึงเป็นเทคโนโลยีที่ท้าทาย  จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้นักจิตวิทยาเริ่มใช้  เทคโนโลยีแห่งการศึกษา ขึ้น  การวิจัยในขอบเขตนี้  มุ่งไปที่การศึกษาค้นคว้ารูปแบบพฤติกรรมการเรียน เกี่ยวกับผู้เรียนและพฤติกรรมการสอน ที่เกี่ยวกับครูบาอาจารย์ 
1.3 วิธีการ  ครอบคลุม วิธีการศึกษาโดยทั่วไปและวิธีการเรียนการสอน
วิธีการเรียนการสอน (Instructional Methods/Techniques) ประยุกต์แนวคิดและหลักการทางการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมาใช้เป็นเครื่องมือ  สื่อหรือช่องทางในการถ่ายทอดเนื้อหาสาระและประสบการณ์
การวิจัยของนักเทคโนโลยีการศึกษาในแขนงนี้จึงมุ่งไปที่การค้นหาวิธีการสอนแบบใหม่  ทั้งที่เป็นระบบการสอนแบบครบวงจรและ ที่เป็นเพียงเทคนิค  และวิธีการสอนเฉพาะเรื่อง  สำหรับนำไปใช้ในระบบการสอนที่มีผู้คิดขึ้นมาแล้ว 
1.4 การสื่อสาร  ครอบคลุม  การสื่อสารการศึกษาและการสื่อสารการสอน  แต่นิยมใช้คำว่า การสื่อสารการศึกษา  เพื่อแทนทั้งสองกลุ่มสื่อสารการศึกษา เป็นขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษาที่รู้จักกันมากโดยเฉพาะคำว่า  อุปกรณ์การสอน  โสตทัศนูปกรณ์ ฯลฯ  สื่อการศึกษา  และสื่อการเรียนการสอนที่ถือเป็นเครื่องมือและเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบการสอน  และวิธีการสอนทุกรูปแบบที่ได้พัฒนาขึ้นแล้ว  หรือที่จะต้องพัฒนาขึ้น  สื่อมีหลายประเภท  แต่สื่อที่ครูและนักเรียนรู้จักกันดี  คือ  กระดานแบบเรียนตำรา  และตัวครูเอง
1.5 สภาพแวดล้อมทางการศึกษา  ครอบคลุมประเภทและการจัดการ  โดยประเภทอาจจำแนกเป็นสภาพแวดล้อมทางกายภาพ  สภาพแวดล้อมทางจิตภาพ  และสภาพแวดล้อมทางสังคมโดยการจัดการ  เป็นการจัดสภาพแวดล้อมทางการศึกษา  ซึ่งเป็นการจัดภาวะที่อยู่รอบตัวผู้เรียนและผู้สอนที่อาจเป็นหรือไม่เป็นองค์ประกอบของการเรียนการสอนโดยตรง  แต่เกื้อหนุนให้เกิดการเรียนรู้หรือเป็นแหล่งการเรียนรู้
1.6 การจัดการ (Management)  ครอบคลุม  การจัดการศึกษา  และการจัดการเรียนการสอน  โดยมุ่งที่การจัดหาและใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยที่การจัดการศึกษา  เป็นหน้าที่ของผู้บริหาร  ภารกิจของนักเทคโนโลยีการศึกษาจึงเน้นการเรียนการสอน เกี่ยวข้องกับการจัดทรัพยากรคน  คือ  ครูกับนักเรียน  และทรัพยากรในรูปอื่นคือ  เวลา  อาคาร  สถานที่  และสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี  และมากที่สุดในเวลาที่น้อยที่สุด
1.7 การประเมิน  การประเมินการศึกษาครอบคลุม  การประเมินที่ครบวงจร  คือ  การประเมินปัจจัยนำเข้า  การประเมินกระบวนการ  และการประเมินผล  ทั้งที่เป็นการประเมินในวงกว้าง  คือ  การประเมินการศึกษา  และในวงแคบ  คือ  การประเมินการเรียนการสอน




2. ขอบข่ายในแนวนอนของการวิจัยทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
ขอบข่ายในแนวนอนจำแนกเป็นด้านบริหาร  ด้านวิชาการ  และด้านบริการ
ขอบข่ายทางด้านบริหาร  เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเป็นเครื่องมือในการจัดระบบการบริหารการกำหนดพฤติกรรมการบริหาร  วิธีการบริหาร  การสื่อสารในองค์กร  การจัดสภาพแวดล้อมด้านการบริหาร  การจัดการ  และการประเมินการบริหาร
ขอบข่ายทางด้านวิชาการ  เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเป็นเครื่องมือในการจัดระบบงานทางวิชาการ  อาทิ  การพัฒนาหลักสูตร  การผลิตงานทางวิชาการ ฯลฯ  ในการกำหนดพฤติกรรมครูและนักเรียน  ในการกำหนดวิธีการเรียนการสอนในการสื่อสารการเรียนการสอน  การจัดสภาพแวดล้อมด้านการเรียนการสอน  การจัดการด้านการเรียนการสอน  และการประเมินการเรียนการสอน
ขอบข่ายทางด้านบริการ  เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเป็นเครื่องมือในการจัดระบบงานบริหาร  การกำหนดพฤติกรรมการบริการ  วิธีการบริการ  การสื่อสารในการให้บริการ  การจัดสภาพแวดล้อมด้านการบริการ  การจัดการด้านการให้บริการ  และการประเมินการบริการ
3. ขอบข่ายในแนวลึกของการวิจัยทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
ได้แก่  การใช้เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาใน  (1) การ ศึกษาในระบบโรงเรียนซึ่งจำแนกออกตามระดับเป็นการใช้เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาในระดับปฐมวัยศึกษา  ประถมศึกษา  มัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษา (2) การศึกษานอกระบบโรงเรียน  (3) การฝึกอบรม  และ (4) การศึกษาทางไกล
                การใช้เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบโรงเรียน  เป็นการใช้เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาตามระดับชั้น  ได้แก่  การจัดระบบการสอนและการใช้สื่อการสอนในระดับปฐมวัยศึกษา  พฤติกรรมครูและนักเรียนประถมศึกษา  วิธีการสอนวิชาเฉพาะ ในระดับมัธยมศึกษาและจัดสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนในระดับ อุดมศึกษา  เป็นต้น  นอกจากนี้ยังรวมถึงการนำเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษามาใช้ในการศึกษาเฉพาะด้าน  เช่น  อาชีวศึกษา  เกษตรศึกษา  เทคนิคศึกษา ฯลฯ  การศึกษานอกระบบโรงเรียน  มุ่งให้การศึกษาต่อเนื่องตลอดชีวิตแก่ผู้ที่อยู่นอกระบบโรงเรียนเพราะออกจากโรงเรียนมาแล้วและมีความต้องการเพิ่มพูนความรู้ของตนให้สูงขึ้นเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยในการจัดระบบ  และถ่ายทอดเนื้อหาสาระให้ประชาชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีจำนวนมากกว่าสามในสี่ของประชาชนทั้งประเทศ  ทั้งนี้ยังรวมถึงการนำเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษามีความรู้สำคัญในการส่งเสริม  และการเผยแพร่ด้วยอีกขอบข่ายหนึ่ง  คือ  การใช้เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษามาใช้ในการศึกษาทางไกล   ในนัยเดียวกันกับการศึกษาในและนอกระบบโรงเรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น