วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555


การประยุกต์ใช้สื่อโทรทัศน์เพื่อการศึกษาและการออกอากาศ  (TV)

 โทรทัศน์การศึกษา
โทรทัศน์การศึกษา " หมายถึง เป็นการส่งรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาเชิงความรู้ด้านต่างๆให้แก่ผู้ชมโดยไม่จำกัดสถานภาพของผู้รับและสามารถนำรายการเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ในการประกอบการเรียนการสอนได้ แต่ถ้าเป็น โทรทัศน์เพื่อการสอนจะเป็นรายการโทรทัศน์ที่จัดเพื่อการสอนตามหลักสูตรและมีการจำกัดสถานภาพของกลุ่มผู้รับ
โทรทัศน์เพื่อการศึกษา (Educational Television) เป็นการใช้โทรทัศน์เพื่อวัตถุประสงค์ทางการศึกษา หรืออาจกล่าวได้ว่า โทรทัศน์การศึกษาเป็นผลการนำรูปแบบและเทคนิคของสื่อโทรทัศน์มาประยุกต์ใช้ร่วมกันเพื่อธุรกิจทางการศึกษาเป็นลักษณะหนึ่งของเทคโนโลยีการศึกษาโดยรายการเหล่านี้จะมีเนื้อหาอย่างกว้างๆ เพื่อส่งเสริมข้อมูลทางการศึกษาโดยเฉพาะการเรียนการสอน 

ระบบการแพร่ภาพและเสียงของโทรทัศน์ 
ระบบของการแพร่ภาพและเสียงของโทรทัศน์แบ่งได้เป็น 2 ระบบ คือ 
1.การแพร่ภาพและเสียงในระบบวงจรเปิด (open - circuit television or broadcasting television)
ระบบนี้ส่งภาพและเสียงไปยังเครื่องรับตามสถานที่ต่างๆ ได้ตามแรงรัศมีซึ่งแยกออกเป็น 2 ระบบย่อย คือ
                                1.1 ระบบ VHF ( Very High Frequency )ส่งคลื่นออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์12 ช่อง โดยใช้ในการแพร่ภาพของสถานีโทรทัศน์เพื่อความบันเทิงและการค้า ใช้ความถี่คลื่นตั้งแต่44-88 megahertz ใช้กับช่อง 2-6 และความถี่ 174-216 megahertz ใช้ช่อง 7-13
                                1.2 ระบบ UHF (Ultra High Frequency)ส่งคลื่นออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์70ช่อง คือ ช่อง14-83 ความถี่ของคลื่นตั้งแต่ 470-890 megahertzใช้ในการแพร่ภาพของสถานีโทรทัศน์ที่มิใช่การค้า 


2. การแพร่ภาพและเสียงในระบบวงจรปิด (Closed-Circuit Television ; CCTV)
เป็นการแพร่ภาพและเสียงในบริเวณจำกัดกว่าในระบบแรกเนื่องจากเป็นการแพร่ภาพไปตามสายแทนการออกอากาศ เช่นโทรทัศน์วงจรปิดที่ใช้สอนในมหาวิทยาลัย หรือระบบสายเคเบิลที่ส่งไปยังคนกลุ่มเดียวที่ต่อจากสายเคเบิลจากสถานีส่งไปยังเครื่องรับของตน 

ประเภทของรายการโทรทัศน์
                รายการโทรทัศน์ที่แพร่ภาพและเสียงในขณะนี้ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
                1.  รายการโทรทัศน์เพื่อการค้า (Commercial Television : CTV)เป็นรายการเพื่อความบันเทิง และธุรกิจโฆษณา
                2.  รายการโทรทัศน์การศึกษา(Education Television : ETV) เป็นรายการเพื่อความรู้ทั่วไปในด้านต่างๆ เช่นความรู้ทางวิชาการ ประเพณี วัฒนธรรม ศาสนา สิ่งแวดล้อม โดยไม่จำกัดความรู้ของผู้ชม หรือเจาะจงเฉพาะบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เป็นการให้ความรู้แก่บุคคลทั่วไป 

ข้อดีและข้อจำกัดในการใช้โทรทัศน์การศึกษา 
ข้อดี
                1.  สามารถใช้โทรทัศน์ได้ในสภาพการณ์ที่ผู้เรียนมีจำนวนมากและผู้สอนมีจำนวนจำกัดทั้งนี้เพราะสามารถแพร่ภาพและเสียงไปตามห้องเรียนต่างๆและผู้เรียนที่อยู่ตามบ้านได้
                2.  เป็นสื่อการสอนที่สามารถนำสื่อหลายอย่างมาใช้ร่วมกันได้โดยสะดวกในรูปแบบของสื่อประสมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่สมบูรณ์
                3.  เป็นสื่อที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนการสอนได้โดยการเชิญผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่มีความสามารถพิเศษในแต่ละแขนงวิชามาเป็นผู้สอนทางโทรทัศน์ได้
                4.  สามารถสาธิตได้อย่างชัดเจนเพื่อให้ผู้เรียนเห็นสิ่งที่ต้องการเน้นได้โดยเทคนิคการถ่ายใกล้เพื่อขยายภาพหรือวัสดุให้ผู้เรียนเห็นทั่วถึงกันอย่างชัดเจน
                5.  ช่วยปรับปรุงเทคนิคการสอนของครูประจำและครูฝึกสอนเช่น ในการสอนแบบจุลภาค
                6.  เป็นสื่อที่สามารถนำรูปธรรมมาประกอบการสอนได้สะดวกรวดเร็ว ช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้ที่ทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงของสังคม
ข้อจำกัด
1.             การใช้โทรทัศน์เป็นการสื่อสารทางเดียว ผู้เรียนและผู้สอนไม่สามารถพุดจาโต้ตอบกันได้
2.             โทรทัศน์มิใช่เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แทนผู้สอนอย่างสิ้นเชิง ผู้เรียนจึงจำเป็นต้องศึกษาบทเรียนเพิ่มเติมจากสื่ออื่นๆประกอบด้วย
3.             อาจเกิดอุปสรรคในด้านการสื่อสาร เช่น กระแสไฟฟ้าขัดข้อง
4.             การผลิตรายการอาจไม่ดีพอ ทำให้การสอนไม่น่าสนใจเท่าที่ควร
5.             จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายสูงในการซื้ออุปกรณ์ที่สามารถถ่ายทำและใช้เทคนิควิธีการในการผลิตรายการที่มีคุภาพ 
การประยุคใช้โทรทัศน์การศึกษา 
1. การสอนโดยตรง
           เป็นการใช้โทรทัศน์เพื่อเสนอรายการที่จัดทำขึ้นตามเนื้อหาในหลักสูตรในรูปแบบของโทรทัศน์การสอน  การสอนโดยตรงนี้สามารถกระทำได้ทั้งในโทรทัศน์ระบบวงจรเปิดและวงจรปิด  ถ้าเป็นการสอนในระบบวงจรเปิดและเป็นการออกอากาศจากสถานีส่งมายัง   ห้องเรียน  การสอนลักษณะนี้จะมีครูประจำชั้นคอยเป็นพี่เลี้ยงควบคุมการเรียนและตรวจงานปฏิบัติของผู้เรียนในห้องเรียนนั้น  แต่ถ้าเป็นการส่งในระบบวงจรปิด ผู้สอนที่สอนอยู่ในห้องเรียนหรือในห้องส่งจะเป็นผู้รับผิดชอบผู้เรียนทั้งหมดด้วยตนเองโดยไม่มีผู้อื่นควบคุมการเรียนในแต่ละห้อง  การใช้โทรทัศน์ในการสอนสามารถใช้ได้ดังนี้

2. การเพิ่มคุณค่าทางการสอน
            เป็นการนำรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทเรียนนั้นมาเสนอแก่ผู้เรียนเพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ และเป็นการช่วยเสริมสร้างบรรยากาศทางการเรียนให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น รายการที่นำเสนออาจเป็นการบันทึกลงแถบวีดิทัศน์ไว้ หรือเป็นรายการสดตามตารางการออกอากาศก็ได้  เช่น  สารคดีชีวิตสัตว์  การประดิษฐ์สิ่งของ  หรือการอภิปรายต่างๆ  เป็นต้น
           การใช้รายการโทรทัศน์เพื่อเสริมการสอนนี้สามารถจะช่วยในการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมของการสอนในห้องเรียนที่มีทรัพยากรจำกัด เช่น ด้านประวัติศาสตร์หรือเรื่องราวเหตุการณ์ระหว่างประเทศ  หรืออาจช่วยอธิบายเพิ่มเติมประกอบวิชาที่ยากแก่ครูผู้สอน เช่น ศิลปะ ดนตรี วิทยาศาสตร์  ฯลฯ   ตลอดจนเป็นการนำแรงกระตุ้นจากภายนอกวิชา  เช่น วรรณคดี ซึ่งยากแก่ผู้สอนที่จะทำให้เกิดความตื่นเต้นและแรงจูงใจในการเรียน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น