วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555


การประยุกต์ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

ICT หมายถึง เทคโนโลยีที่ช่วยในการรวบรวมข้อมูล ตรวจสอบ จัดหมวดหมู่ เรียงลำดับ สรุป คำนวณ จัดเก็บ ค้นคืน จัดทำสำเนา และแพร่กระจาย หรือสื่อสาร ข้อมูล ทำให้ข้อมูลกลายเป็นสารสนเทศที่ดี มีความถูกต้อง ตรงตามความต้องการ และเกิดคุณค่าต่อผู้ใช้   
โดย ICT ประกอบด้วยวิธีการทางเทคนิคทั้งมวลที่ใช้ในการจัดการสารสนเทศและช่วยเหลือการสื่อสาร ซึ่งรวมถึงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่าย รวมทั้งซอฟต์แวร์ที่จำเป็น
หรืออีกนัยหนึ่ง ICT ประกอบด้วย IT, การสื่อสารผ่านทางระบบโทรศัพท์, สื่อกระจายสัญญาณ, รวมไปถึงการประมวลผลและการส่งสัญญาณภาพและเสียง

ระบบสารสนเทศทางการศึกษา
ระบบ  (System)  คือ  ชุดขององค์ประกอบซึ่งมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันในรูปของความเป็นหนึ่งเดียวและ ดำเนินงานร่วมไปสู่เป้าหมายเดียวกัน
ประกอบด้วยส่วนสำคัญสี่ประการ คือ
1. ข้อมูลนำเข้า  (Input)
2. กระบวนการประมวลผล (Process)
3. ผลลัพธ์ (Input)
4. การควบคุมการย้อนกลับ (Feedback  Control)  

1.   E-book
e-Book ย่อมาจากคำว่า Electronic Book หมายถึงหนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ ทั้งในระบบออฟไลน์ และออนไลน์คุณลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงจุดไปยังส่วนต่าง ๆ ของหนังสือ เว็บไซต์ต่าง ๆ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้เรียนได้ นอกจากนั้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถแทรกภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว แบบทดสอบ และสามารถสั่งพิมพ์เอกสารที่ต้องการออกทางเครื่องพิมพ์ได้ อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถปรับปรุงให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือธรรมดาทั่วไป


องค์ประกอบของ E-Book
การสร้างสรรค์ e-Book จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่เนื้อหาที่อยู่ในรูปข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว กราฟ สื่อมัลติมีเดียตลอดจนกระบวนการพัฒนา การเผยแพร่ และสื่อจัดเก็บ
วิธีการประยุกต์ใช้ E-book ในการเรียนรู้
 1. ผู้ใช้สามารถอ่านหนังสือได้ในทุกที่ ทุกเวลาที่ต้องการเรียนรู้
      e-bookหรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นอีกหนึ่งในความสามารถของเครื่อง Palm ที่จะสามารถทำให้คุณเก็บบันทึกเอกสาร Text File ลงใน Palm ให้อยู่ในรูปแบบ e-book โดยการอ่าน e-book นั้น จะต้องมี Software ที่เข้ามาสนับสนุนการอ่าน File ของ e-book
 2. เป็นสื่อรูปแบบใหม่ที่ผู้สอนสามารถใช้ประกอบการสอน
      ผู้สอนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยกำหนดเป็นเอกสาร การสอนในรายวิชาต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนอ่านสะดวก เนื่องจากผู้เรียนสามารถอ่านได้พร้อมๆ กันหลายคน อ่านได้ทุกที่ที่มีการเชื่อมโยงอินเตอร์เน็ต ถ้าผู้เรียนมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่นๆ ก็สามารถดาวน์โหลดเก็บไว้ในเครื่องของตนเอง ทำให้ไม่สิ้นเปลืองกระดาษนอกจากนั้นผู้สอนยังสามารถตรวจสอบได้ว่ามีใครเข้ามาอ่านแล้วบ้าง จึงเท่ากับเป็นการ ติดตามประเมินผลผู้เรียนอีกทางหนึ่ง

2.   E-leaning
         คือ   การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น
องค์ประกอบของ e-Learning
1.ระบบจัดการการศึกษา (Education Management System)ไม่ว่าระบบใดในโลกก็ต้องมีการจัดการ เพื่อทำหน้าที่ควบคุม และประสานงาน ให้ระบบดำเนินไปอย่างถูกต้อง องค์ประกอบนี้สำคัญที่สุด เพราะทำหน้าที่ในการวางแผน กำหนดหลักสูตร ตารางเวลา แผนด้านบุคลากร แผนงานบริการ แผนด้านงบประมาณ แผนอุปกรณ์เครือข่าย แผนประเมินผลการดำเนินงาน
2.  เนื้อหารายวิชา เป็นบท และเป็นขั้นตอน (Contents)หน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญ ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้สอนคือ การเขียนคำอธิบายรายวิชา วางแผนการสอน ให้เหมาะสมกับเวลา ตรงกับความต้องการของสังคม สร้างสื่อการสอนที่เหมาะสม แยกบทเรียนเป็นบท มีการมอบหมายงานเมื่อจบบทเรียน และทำสรุปเนื้อหาไว้ตอนท้ายของแต่ละบท พร้อมแนะนำแหล่งอ้างอิงเพิ่มเติมให้ไปศึกษาค้นคว้า
                3.  สามารถสื่อสารระหว่างผู้เรียน และผู้สอน หรือระหว่างผู้เรียนด้วยกัน ทุกคนในชั้นเรียนสามารถติดต่อสื่อสารกัน เพื่อหาข้อมูล ช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือตอบข้อซักถาม เพื่อให้การศึกษาได้ประสิทธิผลสูงสุด
4.  วัดผลการเรียน (Evaluation)งานที่อาจารย์มอบหมาย หรือแบบฝึกหัดท้ายบท จะทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ และเข้าใจเนื้อหาวิชามากขึ้น จนสามารถนำไปประยุกต์ แก้ปัญหาในอนาคตได้
E-learning มาประยุกต์ใช้ในการศึกษา
การนำ e - Learning ไปใช้ในลักษณะสื่อเสริมคือ นอกจากเนื้อหาที่ปรากฏในลักษณะ e - Learning แล้ว ผู้เรียนยังสามารถศึกษาเนื้อหาเดียวกันนี้ในลักษณะอื่นๆ เช่น จากเอกสาร (ชีท) ประกอบการสอน จากวิดีทัศน์ (Videotape) ฯลฯ การใช้ e - Learning ในลักษณะนี้เท่ากับว่าผู้สอนเพียงต้องการ จัดหาทางเลือกใหม่อีกทางหนึ่งสำหรับผู้เรียนในการเข้าถึงเนื้อหาเพื่อให้ประสบการณ์พิเศษเพิ่มเติมแก่ผู้เรียนเท่านั้น 

3.   คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) หรือ  CAI
คือสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนอันหนึ่ง CAI คล้ายกับสื่อการสอนอื่น ๆ เช่น วิดีโอช่วยสอน บัตรคำช่วยสอน โปสเตอร์ แต่คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะดีกว่าตรงที่ตัวสื่อการสอน ซึ่งก็คือคอมพิวเตอร์นั้น สามารถโต้ตอบกับนักเรียนได้ ไม่ว่าจะเป็นการรับคำสั่งเพื่อมาปฏิบัติ ตอบคำถามหรือไม่เช่นนั้นคอมพิวเตอร์ก็จะเป็นฝ่ายป้อนคำถาม
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในด้าานการเรียนการสอนนี้นอกจากจะมีชื่อเรียกว่า CAI ( Computer Assisted Instruction ) แล้ว อาจเรียกว่า CBE( Computet Based Education ) หรือ CAL( Computer Assisted Learning) ก็ได้ส่วนของคอมพิวเตอร์ช่วยการสอน แบ่งเป็นส่วน ๆ ดังนี้
1.1 ระบบที่ใช้เวลาร่วมกัน( time sharing system )
เป็นระบบที่มีศูนย์กลางใหญ่ทำหน้าที่เก็บข้อมูล โดยมีสาขา ( terminals ) แยกออกไป และมีเครือข่ายที่กว้างขวางมาก ระบบนี้มีใช้มานานแล้ว โดยมีการนำมาใช้ในวงการอื่นๆ ก่อนที่จะนำมาใช้ในวง การศึกษา การเก็บข้อมูลในระบบอาจเก็บไว้ใน เทปคาสเซ็ท หรือ ดิสเก็ต ก็ได้ แล้วแต่ชนิดของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ ระบบที่ใช้เวลาร่วมกันของCAI ที่มีชื่อเสียงมากในสหรัฐอเมริกาคือ ระบบพลาโต ( Plato System )
1.2 ระบบที่ใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
เป็นระบบขนาดเล็ก ที่สามารถปฏิบัติงานตามโปรแกรมได้ทุกรูปแบบโดยไม่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์ใหญ่ระบบของไมโครคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ
หน่วยรับข้อมูล หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้รับข้อมูลแล้วนำมาทำการอ่านเสร็จแล้วจึงส่งข้อมูลนั้นมาทำการอ่าน ไปยังหน่วยประมวลผลกลางของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการประมวลผลต่อไป อุปกรณ์ที่ใช้ ในการส่งข้อมูลหรือโปรแกรมไปยังหน่วยความจำ มีหลายชนิด เช่น แป้นพิมพ์ เครื่องบันทึกเทป เครื่องบันทึก แม่เหล็ก เป็นต้น
หน่วยประมวลผลกลาง หมายถึง ส่วนที่ทำหน้าที่ประมวลผลซึ่งประกอบด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถ คำนวณ และควบคุมการทำงานของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทุกส่วน
หน่วยความจำ หมายถึง หน่วยความจำที่มีอยู่ใน CPU ซึ่งข้อมูลที่อ่านเข้ามาจะถูกนำมาเก็บไ้ในส่วนนี้ เพื่อ จะเรียกใช้ตามต้องการ
หน่วยแสดงผล หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้แสดง ผลของข้อมูลที่มีอยู่ในหน่วยความจำ ซึ่งก็คือ ให้แสดงผลที่ เครื่องคอมพิวเตอร์คำนวณออกมาได้ อุปกรณ์ที่ใช้แสดงผลมีหลายชนิด เช่น มอนิเตอร์ เครื่องพิมพ์ เครื่องพล้อตกราฟ ( ป็นต้น
ส่วนของซอฟแวร์ หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งเรียกว่า courseware หรือ โปรแกรมของ CAI ก็ได้ การเขียนโปรแกรม CAI ต้องเขียนอย่างมีระบบหรือที่เรียกว่า System Approach
ภาษาคอมพิวเตอร์ ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมของ CAI มีหลายภาษา เช่น ภาษา Tutor ใช้ภาษา APL ( A Programming Language ) ใช้กับระบบ APL ภาษา ปาสคาล ( PASCAL ) ภาษาเบสิก ( BASIC ) ภาษาโปรล้อค( PROLOG ) เป็นต้น โปรแกรม CAI ที่จะเขียนให้ได้ดีนั้นทำได้ยาก ต้องใช้เวลามาก ต้องเริ่มต้นจากจุดมุ่งหมายต้องใช้เทคนิคการเขียนโปรแกรม ต้องวิเคราะห์เนื้อหา ซึ่งมีขั้นตอนคือ Pre-test , Post-test และจะต้องเริ่มจากระบวนการร่าง นำไปปรับปรุงนำไปทดลองใช้ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ต้องใช้เวลา มากดังนั้นโปรแกรมที่ดี อาจจะเกินความสามารถของบุคคลเพียงคนเดียวที่จะทำได้
การใช้โปรแกรม CAI นำมาใช้ได้หลายอย่าง ดังนี้
1. ใช้ทบทวนบทเรียนต่างๆที่เรียนมา
2. ใช้ในการฝึกหัด ซึ่งจะเป็นการฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ
3. ใช้แก้ปัญหาต่างๆ ที่มนุษย์กระทำด้วยตนเองได้ยาก เช่น ปัญหาในด้านการคำนวณ
4. ใช้ในการเล่นเกม เช่น เกมทางการศึกษา ซึ่งจะให้ความรู้ความสนุกสนาน
5. ใช้ในการสร้างสถานการณ์ที่คล้ายจริง สถานการณ์โดยทั่ว ๆ ไปจะใช้ในด้านฝึกทักษะ เช่น การฝึกบิน
6. ใช้ในการไต่ถาม ซึ่งจะเป็นการโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับเครื่อง


คอมพิวเตอร์ช่วยสอนนำมาประยุคใช้ในการเรียนการสอน
1.             รูปแบบของโปรแกรมที่จะจัดทำ ควรมีลักษณะดังนี้การแสดงผลบนจอภาพควรเป็นอักษรไทย
2.             มีการจัดให้แสดงเนื้อหาบทเรียน หรือ ภาพเป็นหน้า ๆ โดยให้หนึ่งหน้าจอภาพเท่ากับ 1 หน้าหนังสือ และ ความสามารถเรียกหน้าใดมาดูก่อนหลังได้คลอดเวลา
3.             ในกรณีการตอบคำถาม ถ้าตอบผิดต้องกลับมาเรียนใหม่ แล้วจึงกลับมาตอบคำถามอีกครั้งมีการป้อนโปรแกรม เพื่อมิให้การใช้โปรแกรมผิดพลาด เช่น ควรป้องกันการกดคำตอบล่วงหน้า ป้องกันการกดอักษรหรือคีย์อื่น ๆ ที่ไม่ต้องการ และในกรณีที่มีการ ป้อนข้อมูลให้กับเครื่องจะต้องใช้เครื่องรับเฉพาะอักษร หรือตัวเลขตามที่ต้องการเท่านั้น
4.             มีการจำลองภาพ หรือ การทดลอง การแสดงภาพเคลื่อนไหวประกอบเสียงเพื่อให้นักเรียนได้ทดสอบความคิด ความเข้าใจ โดยการทดลองจากภาพจำลองสำหรับ ระบบเสียงที่สร้างขึ้นจากการกระตุ้นให้นักเรียนมีความกระตือรือร้น และสนุกกับการเรียนการทดลอง
5.             มีการทดสอบและประเมินผลการเรียนในแต่ละบทเพื่อเป็นการชี้แนะว่าควรจะกลับไปสอบซ่อมเสริมหรือไม่
6.             ในกรณีที่ผู้สอนต้องการดูผลการเรียนของนักเรียนแต่ละคนก็ควรจะมีการตั้งรหัสประจำตัวของนักเรียน ซึ่งในกรณีเช่นนี้ควรใช้โปรอกรมสำหรับบันทึกการเรียนของนักเรียนแต่ละครั้งที่เรียนเพื่อว่าเมื่อนักเรียนมาเรียนต่อครั้งใด ก็จะได้ทราบว่าควรจะเรียนบทใดหน้าใด



4.   เว็บไซต์ Web Site
เว็บไซต์ หมายถึง แหล่งความรู้หรือข้อมูลข่าวสารที่ถูกเก็บไว้บนระบบ เน็ตเวิร์กออนไลน์ที่เรียกว่า อินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะอยู่ที่ไดบนโลกนี้ถ้า คอมพิวเตอร์ได้ถูกเชื่อมต่อไว้กับระบบอินเตอร์เน็ต ก็สามารถที่จะเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทาง ซอฟต์แวร์ ที่เรียกว่า เว็บบาวเซอร์ เราจะเรียกเว็บแต่ละเว็บว่า โฮมเพจ และจะเข้าโฮมเพจผ่านทาง เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web,  WWW, W3)
Web ประกอบด้วย
โฮมเพจ(Homepage)คือ หน้าแรกของเว็บไซต์เมื่อเรียกเว็บนั้นๆขึ้นมาแล้วเจอเป็นหน้าแรก ถ้าเปรียบกับหนังสือก็คือ หน้าสารบัญ
เว็บเพจ (Web Page)คือ เนื้อหาของเว็บไซต์ทุกๆหน้า หรือหน้าใดๆได้ทุกหน้าจะเป็นหน้าที่เราเรียกเฉพาะเจอะจงเข้าไป จะเป็นหน้า general หรือหน้าใดก็ได้ถ้าเป็นหนังสือก็คือ หน้าต่างๆที่เราเปิดไปเพื่อที่จะอ่าน
                เว็บไซต์ (Web site)คือ ทั้งหมด และทุกๆส่วนของเว็บนั้นๆ ถ้าเป็นหนังสือ ก็คือหนังสือทั้งเล่ม
 การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ       
 การจัดการเรียนการสอนโดยการใช้เว็บช่วยสอนจะมีวิธีการจัดที่แตกต่างไปจากการจัดการเรียนการสอนตามปกติ เพราะคุณลักษณะและรูปแบบของเว็บเป็นสื่อที่มีลักษณะเฉพาะของตนเอง ซึ่งแตกต่างไปจากการจัดการเรียนการสอนด้วยสื่อแบบอื่น ๆ จึงต้องคำนึงถึงการออกแบบระบบการสอนที่สอดคล้องกับคุณลักษณะของเว็บ เช่น การสื่อสารระหว่างผู้เรียนกับครู การสื่อสารระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน ที่กระทำได้แตกต่างไปจากการเรียนการสอนแบบเดิม เช่น การใช้เว็บช่วยสอนสามารถสื่อสารกันได้โดยผ่านเว็บโดยตรงในรูปคุยกันในห้องสนทนา(Chat Room) การฝากข้อความบนกระดานอิเล็กทรอนิกส์หรือกระดานข่าวสาร (Bulletin Board) หรือจะสื่อสารกันโดยผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) ก็สามารถกระทำได้ในระบบนี้ ความเป็นเว็บช่วยสอนจึงไม่ใช่แค่การสร้างเว็บไซต์เนื้อหาวิชาหนึ่งหรือรวบรวมข้อมูลซักเรื่องหนึ่งแล้วบอกว่าเป็นเว็บช่วยสอน เว็บช่วยสอนมีความหมายกว้างขวางอันเกิดจากการรวมเอาคุณลักษณะของเว็บ โปรแกรมและเครื่องมือสื่อสารในระบบอินเทอร์เน็ตและการออกแบบระบบการเรียนการสอนเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นอย่างมีความหมายไม่เป็นเพียงแค่แหล่งข้อมูลเท่านั้น




การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก
เป็นการจัดการเรียนที่มีสภาพการเรียนต่างไปจากรูปแบบเดิม การเรียนการสอนแบบนี้อาศัยศักยภาพและความสามารถของเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นการนำเอาสื่อการเรียนการสอนเป็นเทคโนโลยีสูงสุดมาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนให้เกิดการเรียนรู้จากการสืบค้นข้อมูล และเชื่อมโยงเครือข่ายทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกสถานที่และทุกเวลา การจัดการเรียนการสอนลักษณะนี้มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-based Instruction) การฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-based Trainning) การเรียนการสอนผ่านเวิล์ดไวด์เว็บ (www-based Instruction) การฝึกอบรมผ่านเวิล์ดไวด์เว็บ (www-based Trainning) เป็นต้น
องค์ประกอบของการเรียนการสอนโดยใช้เว็บ
ระบบการเรียนการสอน
ความเป็นเงื่อนไข
การสื่อสารและกิจกรรม
สิ่งนำทางการค้นคว้า
ประเภทของสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก
World Wide Web
E-mail
Chat
Webbord
ICQ
Conference


คุณค่าทางการศึกษาของการเรียนการสอนโดยใช้เว็บ
1.               ช่วยเปิดโลกกว้างทางการศึกษา แหล่งความรู้วิทยาการต่างๆที่มีอยู่ทั่วโลก
2.             ฝึกทักษะการคิดที่เป็รระบบ โดยเฉพาะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การแก้ปัญหา และการคิดอิสระ เพื่อแยกแยะสารสนเทศที่เป็นสาระสำหรับตน
3.             ขยายขอบข่ายการเรียนรู้ในห้องเรียนออกไป เปิดโอกาศให้ผู้เรียนสามารถสำรวจข้อมูลตามความสนใจของผู้เรียน
4.             ทำให้เรียนได้มีโอกาศศึกษาโปรแกรมประยุกต์ต่างๆบนคมพิวเตอร์และบนเครือข่ายต่างๆได้พร้อมๆกับการเรียน
ข้อดีของการเรียนการสอนโดยใช้เว็บ
1. ช่วยเพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้สอน และผู้เรียนกับแหล่งการเรียนผู้อื่นๆ
2. ช่วยลดรายจ่ายในสภาพการเรียนการสอนจริงที่มีอาคารพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายมาก มีการเตรียมวัสดุอุปกรณ์และบางครั้งอาจเสี่ยงอันตราย ดังนั้นการเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลักจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายได้
3. ทำข้อมูลให้ทันสมัยและเป็นปัจจุบันได้ง่ายและรวดเร็วจึงทำให้เนื้อหาวิชาที่ผู้เรียนได้รับถูกต้องอยู่เสมอ
4. ข้อมูลต่างๆ ที่ใช้ในการเรียนการสอนสามารถอ้างอิงผ่านระบบการสืบค้นได้ทันที 
ข้อจำกัดของการเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก
1. ค่าใช้จ่ายในเรื่องเครื่องคอมพิวเตอร์ การติดตั้ง ค่าเช่า กรณีอยู่ต่างจังหวัดมีราคาสูงมาก
2. ขาดผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบระบบการเรียนการสอนผ่านอินเตอร์เน็ต
3. มีอุปสรรคในด้านภาษาเนื่องจากข้อมูลที่อยู่บนอินเตอร์เน็ตส่วนมากเป็นภาษาอังกฤษ
4. ประสิทธิภาพการเรียนทั้งหมดอยู่ที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ อาจารย์ผู้สอนไม่สามารถควบคุมการเรียนของ ผู้เรียนได้
5. ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลและสืบค้นยังช้าทำให้เกิดความน่าเบื่อหน่าย
6. ผู้ใช้ยังขาดทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ และเครือข่ายจึงทำให้ไม่ค่อยอยากใช้
7. ไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมการเรียนการสอนของสังคม ซึ่งเน้นการถ่ายทอดความรู้จากครูเป็นหลัก



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น